รีวิวหนัง Joker

ตัวละครที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น ไอค่อน แห่งโลกภาพยนตร์ตัวละครหนึ่ง สำหรับใครหลายคน Joker ตัวละครคู่ปรับตลอดกาลของ แบทแมน คงเป็นหนึ่งในนั้น ไม่ว่าจะด้วยชื่อเสียงของคอมมิค DC ชุดนี้ มาตรฐานการแสดงของนักแสดงคนก่อนหน้า ที่ทำมาตรฐานเอาไว้สูงลิบจนหลายคนที่มารับช่วงต่อ เจอกับสภาพความกดดันไปตามๆกัน ฉะนั้นแล้วด้วยความคาดหวังที่สูงมากขนาดนี้ การที่หนังสามารถครองใจผู้ชมและนักวิจารณ์ พร้อมทั้งกวาดรางวัลมากมายหลายสถาบัน จึงเป็นเครื่องการันตีแล้วว่า Joker ฉบับนี้ มีความดีงามมากแค่ไหน หนังระทึกขวัญ  อาชญากรรม

รีวิวหนัง Joker 2019

ดูหนังจบคุณจะจำชื่อเขาอย่างหลอนหัว อาร์เธอร์ เฟล็ก” (Arthur Fleck) AKA โจ๊กเกอร์ (Joker)

สิ่งหนึ่งที่หนังจากคอมิก ดีซี โดยค่ายวอร์นเนอร์ทำได้อย่างดีเสมอมานับตั้งแต่ไตรภาค Dark Knight ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) คือการเป็นหนังที่ดาร์กเข้ม จริงจังทั้งความสมจริงและดราม่า การสร้างตัวละครที่มีมิติรายละเอียด และวิช่วลที่ตระการตาในยุคของ แซ็ก ชไนเดอร์ (Zack Snyder) ซึ่งด้วยการไล่ตามความสำเร็จและกดดันจากมาร์เวล ทำให้ยังทำยิ่งเป๋หนักจากการทอดทิ้งแนวทางการสร้างตัวละครมิติเชิงลึก ไปเป็นแอ็กชันผาดโผนผสมอารมณ์ขันสไตล์มาร์เวล ซึ่งงก้ไม่ค่อยขำเพราะสวนทางดราม่าที่ยังพยายามยึดไว้ด้วย เลยกลายเป็นการใส่ดราม่าแบบฉาบฉวยและพลอตที่ยัดเยียดให้เกิดดราม่าเสียแทน ที่ผู้ชมจะสมัครใจอิน แม้ในยุคของ Wonder Woman และ Aquaman จะเริ่มลงตัวมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังห่างไกลจากการเป็นดราม่าเข้มขึงที่เคยเป็นรากฐานของดีซีจริง ๆ ดูหนังฟรี

มาถึงตรงนี้ก็ต้องขออภัยในการที่ต้องเทียบกับทางมาร์เวล เพื่อให้เห็นว่านี่เป็นความกล้าขนาดไหนของวอร์นเนอร์ที่อาจยอมทิ้งรายได้มหาศาลจากการทำตามมาร์เวลไปเพื่ออนุมัติสร้างหนังเรื่องนี้

เรื่องย่อ Joker

อาร์เธอร์ เป็นชายคนหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับความโหดร้ายทารุณและสังคมที่เต็มไปด้วยการเหยียดหยาม เขาต้องเผชิญกับความอ้างว้างจนเปลี่ยนเขาจากที่เป็นคนอ่อนแอกลายเป็นคนโหดเหี้ยม เขารับจ้างแต่งชุดตัวตลกรายวัน จนกระทั่งคืนหนึ่งที่เขาพยายามจะแสดงตลกเดี่ยว แต่กลับพบว่าตัวเองต่างหากที่เป็นเรื่องตลก เขาไม่เป็นตัวของตัวเองเวลาที่มีผู้คนอยู่รายล้อม ซึ่งเห็นได้จากเสียงหัวเราะที่ควบคุมไม่ได้และดูไม่เหมาะสม ยิ่งเขาพยายามควบคุมเท่าไหร่มันก็ยิ่งแสดงออกมามากขึ้น จนทำให้เขาแสดงความเยาะเย้ยและความรุนแรงออกมา อาร์เธอร์ทุ่มเทเวลาไปกับการดูแลแม่ที่ไม่ค่อยแข็งแรง และไขว่คว้าตามหาคนที่เหมาะจะเป็นพ่อซึ่งเขาไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่นักธุรกิจมหาเศรษฐี โธมัส เวย์น ไปจนถึงพิธีกรรายการทีวี เมอร์เรย์ แฟรงค์ลิน เขาพบว่าตัวเองอยู่ปลายทางระหว่างโลกแห่งความจริงกับความบ้าคลั่ง การตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวกลายเป็นชนวนเหตุที่นำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงมากมาย ดูหนังออนไลน์

รีวิวหนัง Joker หนังคุณภาพระดับออสการ์

JOKER จึงเป็นการแสวงทางสู่ดราม่าจิตวิทยาแบบลงลึก ดิ่งจม ผสมเหล้าข้นปนยารักษาโรคประสาท ที่มีกลิ่นดินปืนคลุกละอองเลือดลอยคละคลุ้งในอากาศ ซึ่งเป็นสายทางหนังประกวดรางวัล เวทีที่ไม่น่าพลาดคงเป็นเวทีลูกโลกทองคำ แต่สำหรับออสการ์ก็เรียกว่ามีลุ้นไม่น้อยทีเดียว ซึ่งจะว่าก็น่าเสียดายแทนแฟนหนังมาร์เวลที่ไม่สนใจในการทำหนังแนวคว้ารางวัลสาขาหนังยอดเยี่ยม ยิ่งความอ่อนไหวของดิสนีย์ที่ไม่ชอบเล่นประเด็นสุ่มเสี่ยง ขนาดเคยไล่ผู้กำกับอย่าง เจมส์ กันน์ (James Gunn) ออกจากค่ายมาแล้วเพราะผลการกระทำในอดีตที่แทบไม่ควรเอามาเป็นประเด็นอีก

เพราะแนวทางการสร้างของมาร์เวลก็เน้นรายได้ความนิยมมากกว่ารางวัลอยู่แล้ว จึงไม่มีวันคิดจะทำหนังสไตล์ Joker ได้สำเร็จแน่นอน

ดีไม่ดีทำแล้วจะเป๋จนเพี้ยนไปหมดด้วย นี่จึงต้องยอมรับในความกล้าของผู้บริหารของค่ายวอร์นเนอร์มาก ๆ ที่กล้าเสี่ยงเอาตัวละครดังมาทดลองกับแนวทางหนักหน่วงเช่นนี้

หนังสามารถคว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยม สิงโตทองคำ (Golden Lion) จากเทศกาลหนังเมืองเวนิสปีล่าสุด พร้อมการยืนปรบมือยาวนานของผู้ชมหลายนาที ซึ่งคงเป็นเพียงระฆังสัญญาณแรกในการลุยเวทีรางวัลใหญ่ในปีนี้ของหนังที่อาจตามรอยรุ่นพี่อย่าง The Shape of Water (2017) และ Roma (2018) ซึ่งล้วนเคยคว้ารางวัลสิงโตทองคำก่อนไปชนะรางวัลใหญ่ในเวทีออสการ์สำเร็จมาแล้วทั้งคู่ก็เป็นได้ ต้องยอมรับว่าก่อนดูหนังมีความแคลงใจ และคิดไปล่วงหน้าว่าอาจไม่ชอบตัวหนังไปเลยก็ได้ แต่พอเข้าไปดูแล้วนั้นก็ต้องพูดโดยรวมว่า หนังประสบความสำเร็จอย่างมากในการพาเราจมดิ่งลงไปในตัวละครนำอย่าง อาร์เธอร์ เฟล็ก อย่างถอนตัวไม่ขึ้น เราจึงทั้งเข้าใจ ต่อต้าน เห็นใจ ขัดแย้ง อยากโอบกอดเขา และดุด่าเขาไปพร้อมกัน และเหนืออื่นใดมันคือประสบการณ์มหัศจรรย์ที่เราจะได้เห็น วาคีน ฟินิกส์ (Joaquin Phoenix)  ลอกคราบทีละชั้นจนกลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดนาม โจ๊กเกอร์ ในที่สุด

รีวิวหนัง Joker

รีวิวหนัง Joker เมื่อเราเห็นใจอาชญากร

นี่คือผลงานการกำกับของ ทอดด์ ฟิลลิปส์ (Todd Phillips) ผู้กำกับชื่อดังที่สร้างชื่อตัวเองมาจากหนังแนวคอมเมดี้ไตรภาคอย่าง The Hangover นี่จึงเป็นการผันตัวมาทำหนังดราม่าหนักหน่วงจริงจัง โดยเฉพาะเป็นการนำคาแรกเตอร์จากคอมิกดังมาดัดแปลงครั้งแรกของเขาด้วย สิ่งที่ต้องชื่นชมผู้กำกับอย่างมากคือ วิสัยทัศน์ด้านการนำเสนอ ทั้งฉาก ภาพ วิช่วล ที่พยายามให้นึกถึงนิวยอร์กในยุค 1970 อันเป็นปีแห่งความสับสนวุ่นวาย เส็งเคร็ง กักขฬะ ผู้คนแสวงหาคุณค่าในความดีงาม ในตัวเอง ในตัวผู้อื่น เป็นยุคแห่งการหลงทิศหลงทาง ทั้งสงครามเวียดนาม คดีวอร์เตอร์เกต สงครามเย็น ลัทธิคลั่งศาสนา การนำยุคที่ถูกต้องมาสู่การสร้างฉากหลังให้ตัวละครที่ถูกตัว คือความสำเร็จที่งดงามที่สุด ยังไม่รวมว่างานด้านภาพและวิช่วลต่าง ๆ ทำออกมาได้อย่างงดงามในความล่มสลาย งดงามในความรุนแรง และงดงามดั่งหัวใจเลวทรามใสซื่อของตัวละครนำ

ทอดด์ และ สก็อตต์ ซิลเวอร์ (Scott Silver) มือเขียนบทรางวัลออสการ์จากหนัง The Fighter (2010) เลือกนำจิตวิเคราะห์มาสู่ตัวละคร และเขียนบทจากผิวแล้วเลาะเปลือกตัวละครลงทีละชั้นได้อย่างที่คนไม่ต้องเรียนจิตวิทยามากมายก็เข้าใจหัวจิตหัวใจอันน่าเวทนาของตัวละครได้ มีดที่เลาะคราบของตัวละครออกมีตั้งแต่ สังคมที่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบคนอ่อนแอ ความพิการทางกายและใจ ความถูกละเลยไม่แยแสจากทั้งคนและจากทั้งรัฐ ความเชื่ออันหลงผิด ความหวังอันจอมปลอม ความรักที่แท้เพียงการหักหลังทรยศ และคุณค่าความภูมิใจในตนเองที่ตกต่ำต้อยแดดิ้นยิ่งกว่าก้นบุหรี่ที่ถูกคายทิ้งแล้วเอาเท้าขยี้ซ้ำ มันคือการตกต่ำลงเรื่อง ๆ ของตัวละครไปพร้อมกันกับการสูญสลายความศรัทธาในความดีงามความถูกต้องใด ๆ ทั้งมวล

หนังสร้างตัวละครโจ๊กเกอร์บนโจทย์สำคัญที่ว่า เขาคือตัวละครที่ไร้ตัวตน ไม่มีอดีตที่ชัดเจนว่าคือใคร มีที่มาที่ไปเช่นใด เป็นสุญญากาศ เป็นความกลวงของสังคม เป็นความบ้าคลั่งไร้ทิศทาง และเป็นฮีโร่ของสังคมป่วย ๆ ที่พิทักษ์ความยุติธรรมอันเจ็บป่วยด้วยวิธีการอันเจ็บป่วยพร้อมกัน เหมือนทอดด์กับซิลเวอร์ถอดโจทย์จากคอมิกทุกเล่มไว้บนปลายทาง ก่อนเรียงร้อยสร้างสรรค์ระหว่างทางเพื่อบรรลุผลตอนท้าย จากเรื่องราวที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคยสู่ตอนจบที่แนบเนื้อเดียวกับตำนานในใจของผู้อ่านทุกคน

ความละเอียดของจิตวิเคราะห์ยังลงลึกไปในประเด็นความโหยหา พ่อ ของตัวละคร ที่พยายามเอาภาพพ่อในจินตนาการที่ไม่เคยได้พบเจอไปซ้อนทับกับไอดอลในชีวิตจริงทั้ง เมอร์เรย์ แฟลงคลินส์ (โรเบิร์ต เดอ นีโร Robert De Niro) พิธีกรเจ้าของรายการทอล์กโชว์ชื่อดังที่อาร์เธอร์ดูมาแต่เด็ก ตลอดจน โทมัส เวย์น มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยอันจะทำให้ทุกข์ในความยากจนของอาร์เธอร์และแม่ปลิวไปได้เพียงแรงลมผิวปากของโทมัสเท่านั้น เพียงประเด็นเรื่องพ่อประเด็นเดียวเชื่อว่าก็มีคนวิเคราะห์กันได้ลึกได้ยาวเป็นบทความกันแล้วล่ะ นี่จึงเป็นความเจ๋งที่หนังเรื่องนี้ใส่ใจทุกเม็ดทุกซอกมุมของตัวละคร และการเล่าเรื่องผ่านตัวละครนำทั้งเรื่องจึงประสบความสำเร็จ โดยไม่ต้องพึ่งสูตรบารมีของตัวละครอื่นมาให้แฟนต้องว้าว อย่างเช่นผลงานซูเปอร์ฮีโรครอสโอเวอร์เรื่องอื่น ๆ ต้องใช้เลยก็ตาม

และอีกสิ่งที่คงปฏิเสธได้ยากคือ นี่เป็นผลงานการแสดงที่ต้องจารึกโลกอีกครั้ง ของ วาคีน ฟีนิกส์ (Joaquin Phoenix) นักแสดงผู้เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากหนัง Walk the Line (2006)  และ The Master (2012) รวมถึงเคยเข้าชิงสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจาก Gladiator (2000) มาแล้ว นี่น่าจะเป็นอีกครั้งที่เขาน่าจะเข้าใกล้รางวัลนี้มากที่สุด เพราะโจ๊กเกอร์กลายเป็นบทที่ยากและลำบากในการแสดง เมื่อมันถูกตั้งมาตรฐานมาแล้วจากนักแสดงชั้นยอดในอดีต อย่าง แจ๊ก นิโคลสัน (Jack Nicholson) หรือ มาร์ก ฮามิลล์ (Mark Hamill) โดยเฉพาะที่ว่าการเป็นผลงานทุ่มสุดตัวครั้งสุดท้ายแห่งชีวิตของ ฮีธ เลดเจอร์ (Heath Ledger) ด้วยแล้ว ต้องบอกว่าเป็นงานหินโคตร ขนาดว่านักแสดงที่ดีอย่าง จาเรด เลโต (Jared Leto) ที่เคยคว้าออสการ์มาแล้วก็ยังไม่ประสบความสำเร็จกับบทบาทนี้เท่าใด

รีวิวหนัง Joker

บทสรุป

แต่เชื่อมั้ยว่า วาคีน ฟินิกส์ เขาทำได้ แถมทำได้อย่างเปี่ยมเสน่ห์น่าขนลุก เขาค่อย ๆ กลายเป็นโจ๊กเกอร์ได้อย่างละเมียดมาก ๆ ใช่ เทคนิคคือเขาไม่ได้พยายามจะเป็นโจ๊กเกอร์แต่ต้น หากแต่เป็นคนธรรมดาที่มีความผิดปกติแตกต่างจากคนอื่น ซึ่งทำให้เราเข้าใจและอินไปกับความใกล้เคียงมนุษย์ทั่วไปได้ จนสุดท้ายเขาค่อย ๆ กลืนยาที่เรียกว่าอุปสรรคและโชคชะตาลงไปในท้องทีละเม็ด ก่อนจะกลายร่างเป็นตัวละครวายร้ายที่โด่งดังที่สุดในโลกคนหนึ่งอย่างงดงาม จุดสังเกตที่เราต้องทึ่งในรายละเอียดการถอดเทคนิคทางการแสดงของวาคีน ฟินิกส์ มีตั้งแต่สีหน้า ดวงตา กายภาพ ท่าทางต่าง ๆ โดยเฉพาะการเดิน การวิ่ง การใช้มือ การหัวเราะ คือทุกสัดส่วนการใช้กายและใจของเขามันถอดตัวละครออกมาเป็นชิ้น ๆ แล้วประกอบใหม่อยู่ซ้ำ ๆ จนอาร์เธอร์กลายเป็นโจ๊กเกอร์ได้ เชื่อว่าสายการแสดงมานั่งดูคงต้องจดเล็กเชอร์รายฉากกันเลยทีเดียว

นี่เป็นหนังที่เราอาจไม่ได้รู้สึกมีความสุขไปกับมัน ไม่ได้หัวเราะกับมัน ไม่ได้ตื่นตาตื่นใจระเบิดตูมตามเร้าใจ ไม่ใช่หนังฮีโรในกระแสใด ๆ มันอาจเป็นหนังของคนธรรมดาที่เจอวันแย่ ๆ และผิดเพี้ยนจนกลายเป็นขบถต่อสังคมอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ มันจึงเป็นหนังที่อิ่มในความรู้สึก อิ่มในสมองที่ต้องการบทเรียนรู้สำคัญผ่านหนัง หนังที่เรานั่งนิ่งอึ้งเมื่อจบ พลันเมื่อรู้สึกตัวก็อยากปรบมือให้มันยาว ๆ ยาวนานเท่าที่จะทำได้

JOKER

ตรรกะ ความสมบูรณ์ของบท

95

คุณภาพนักแสดง

100

คุณภาพโปรดักชั่น การผลิต ความแปลกใหม่

95

ความสนุกน่าติดตาม

80

คุ้มเวลา ค่าตั๋ว

90

จุดเด่น

การแสดงสุดยอดที่สุด

บทและการสร้างตัวละครสุดติ่งมาก

ภาพสวย การคิดงานละเอียดถี่ถ้วนตอบรับส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างน่าทึ่ง

จุดสังเกต

มันคือหนังดราม่าแอนตี้อีโร่อาจไม่ถูกใจสายฮีโร่ป๊อป ๆ

ความรุนแรงแบบไม่ต้องการเหตุผล อาจมีไม่มาก แต่มาทีมีจุกมีหลอน ไม่เหมาะกับเด็กเลยจริง ๆ

ดูแล้วจิตตก อาจไม่เหมาะกับผุ้ชมบางกลุ่ม

ช่วงแรกก่อนที่จะเผยเนื้อแท้ของหนังค่อนข้างยืดยานน่าเบื่อนิด ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *